งานการเจ้าหน้าที่
กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

  • หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัยากรบุคคล

​1. การสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร

           มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาบุคคลบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว โดยมีการทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป และความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ และการสอบสัมภาษณ์ หรือดำเนินการทดสอบด้วยวิธีอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างรวมกัน โดยกระบวนการสรรหาบุคคลบรรจุแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว โดยพนักงานมหาวิทยาลัยอาศัยระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาว่ากระบวนการสรรหาบุคคลบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย พศ.2563 พนักงานราชการ อาศัยประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการ พ.ศ 2552 และระเบียบว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  โดยเมื่อผ่านกระบวนการสรรหาและคัดเลือกแล้ว ได้กำหนดให้บุคลากรที่ผ่านเกณฑ์ได้เข้ามาทำสัญญาจ้าง บรรจุแต่งตั้ง และทดลองปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด

2.การบรรจุและแต่งตั้งบุคลากร

             มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีกระบวนการบรรจุและแต่งตั้งเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาว่ากระบวนการสรรหาบุคคลบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย พศ.2563 พนักงานราชการ อาศัยประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการ พ.ศ 2552 และระเบียบว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม   โดยกำหนดให้บุคลากรที่ผ่านกระบวนการสรรหา หรือการคัดเลือก ให้เข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว จะต้องทำสัญญาทดลองปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 6 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปี และต้องผ่านการประเมินการทดลองปฏิบัติงานจากคณะกรรมการทดลองการปฏิบัติงาน เพื่อให้มหาวิทยาลัยพิจารณาต่อสัญญาจ้างในระยะถัดไป แต่ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินให้มหาวิทยาลัยสั่งให้พ้นจากการปฏิบัติงาน เว้นแต่คณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจะสั่งให้ขยายระยะเวลาการทดลองปฏิบัติงานต่อไปอีก 6 เดือนก็ได้ แต่รวมระยะเวลาการทดลองปฏิบัติงานแล้วต้องไม่เกิน 1 ปี หากผลการประเมินยังต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้อีก ให้ถือว่าสิ้นสุดการปฏิบัติงาน

โดยเป็นไปตามเกณฑ์คะแนนทั้ง 3 ด้าน โดยเกณฑ์การประเมินจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 หลักเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งวิชาการ

           คุณลักษณะของบุคคลในการปฏิบัติงาน 30 คะแนน

           ความสามารถด้านการสอน 40  คะแนน

           ความสามารถด้านวิชาการ หรือบริการวิชาการและการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา 30 คะแนน

พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ

           คุณลักษณะของบุคคลในการปฏิบัติงาน 40 คะแนน

                     ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 60 คะแนน

​3. ​​​การพัฒนาบุคลากร

           มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คำนึงถึงการพัฒนาบุคลากรให้บุคลากรเป็นผู้ที่มีสมรรถนะพร้อมต่อการปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่มหาวิทยาลัยได้วางไว้ในทุกๆด้าน เช่น การกำกับดูแลบุคลากร การก้าวเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ วิชาชีพที่สูงขึ้น การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมและความโปร่งใส พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนโดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล และดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเอง มีความคิดริเริ่มและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการการวางแผนและตัดสินใจอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ และทำงานโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามกรอบแนวคิดการพัฒนาและวงจรคุณภาพการบริการ รวมถึงองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานภายในบริบทของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การพัฒนาบุคลากรที่สำคัญ ดังนี้

          1. ให้มีการปรับปรุงและทบทวนแผนพัฒนาบุคลากรเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงาน เป้าหมาย และพันธกิจขององค์กรและจัดลำดับความสำคัญในประเด็นการพัฒนาบุคลากรมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดหลักสูตร รูปแบบ วิธีการพัฒนาบุคลากร อันนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรประจำปี

           2. วิธีการในการพัฒนาบุคลากร มีหลักเกณฑ์รองรับให้สามารถดำเนินการได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้

  • การให้ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน
  • การให้ไปปฏิบัติงาน วิจัย การสอน หรือการให้บริการทางวิชาการอื่น
  • การคัดสรรบุคลากรภายใน
  • การสอนงาน
  • การอื่นใดตามที่จำเป็นและเหมาะสม

          3. กระบวนการติดตามและประเมินผลการพัฒนาความรู้และทักษะระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ

 

4. การประเมินผลการปฏิบัติราชการ

             มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ประจำปีงบประมาณของบุคลากรทุก อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)  พ.ศ. ๒๕๕๑ กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ และข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2554และข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2557 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของบุคลากรปีละ 2 รอบการประเมินเป็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป รอบที่สองเป็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน โดยคณะกรรมการบริหารวงเงินงบประมาณสำหรับการเลื่อนเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัย และพนักงานมีมติให้ประกาศปฏิทินการประเมินผลการปฏิบัติราชการ เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกณฑ์กำหนดระดับผลการประเมิน ดังนี้

ข้าราชการ / พนักงานมหาวิทยาลัย 

 

ระดับผลการประเมิน

ช่วงคะแนน (ร้อยละ)

 

ดีเด่น

90 – 100

 

ดีมาก

80 – 89

 

ดี

70 – 79

 

พอใช้

60 – 69

 

ต้องปรับปรุง

ต่ำกว่า 60

ลูกจ้างประจำ

 

ระดับผลการประเมิน

ช่วงคะแนน (ร้อยละ)

 

ดีเด่น

90 – 100

 

ยอมรับได้

60 - 89

 

ต้องปรับปรุง

ต่ำกว่า 60

พนักงานราชการ

 

ระดับผลการประเมิน

ช่วงคะแนน (ร้อยละ)

 

ดีเด่น

95 – 100

 

ดีมาก

85 – 94

 

ดี

75 – 84

 

5. การให้คุณโทษและการสร้างขวัญและกำลังใจ

​               มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรมและความโปร่งใส บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดำเนินตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน การบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๓ และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕ บุคลากรจึงต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดเป็นข้อปฏิบัติและข้อห้ามโดยเคร่งครัด และหากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม อาจนำไปสู่มาตรการดำเนินการและบทลงโทษทางวินัยตามระเบียบและข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด และในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรในการปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยจึงมีการดำเนินการดังนี้